bar_chart
0
favorite
0
shopping_cart
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

ที่เที่ยวย่านเก่า : 5 ย่านเก่าซ่อนตัวอยู่ในกรุงฯ พรุ่งนี้เตรียมเมม เตรียมกล้อง ไปเดินถ่ายรูปกันเถอะ!

calendar_month 25 ก.ค. 2016 / stylus Admin Chillpainai / visibility 415,198 / สถานที่ยอดนิยม

วันนี้ชิลไปไหนจะพาเพื่อนๆ ไปเดินเที่ยว ปั่นเที่ยว กินเที่ยว ย่านเก่าย่านแก่ในกรุงเทพของเรา ไม่ว่าจะเดิน หรือจะเช่าจักรยานสักคันมาทุ่นแรง ก็มีความชิลไม่แพ้กัน ซึ่งแต่ละที่ที่เราจะพาไปวันนี้เค้าก็มีความฮิป ความชิค มีเรื่องราวมากมายรอให้เราได้ไปสัมผัส ใครที่ชอบถ่ายภาพ มาย่านนี้รับรองได้มุมใหม่ๆ เพียบ หรือถ้าใครเป็นสายกิน เค้าก็มีร้านเด็ดสุดเก๋ามากมายที่ถูกส่งต่อรุ่นต่อรุ่น มาเที่ยวถ่ายรูปสวยๆ แถมมีของกินเด็ดๆ อีก ชวนเพื่อน ชวนแฟน ไปเยือนย่านเก่ากันเถอะ



ตลาดพลู - ฝั่งธนฯ
 (เดินหาของอร่อย แวะถ่ายรูปกับทางรถไฟและตึกเก่า)


ตลาดพลูในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนถนนเทอดไทฝั่งธนบุรี มีความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นย่านเก่าแก่ เป็นเส้นทางคมนาคม เป็นตลาด มีวัดวาอาราม เป็นสถานีรถไฟ และที่สำคัญ เป็นแหล่งของอร่อยที่หลายๆ คนรู้จักกันดี ใครสายกิน ใครสายแชะ ห้ามพลาด น่าแวะมาตะลุยเที่ยว ตะลุยกิน ถ่ายรูปเท่ห์ๆกับชาวแก๊งค์สุดๆ

การเดินทาง 
เดินทางด้วย BTS เลือกลงสถานีตลาดพลู แล้วสามารถต่อวินมอเตอร์ไซค์ไปตลาดพลู





สามแพร่ง - เสาชิงช้า
(แพร่งนรา,แพร่งภูธร,แพร่งสรรพศาสตร์,เสาชิงช้า)

ย่านสามแพร่งซึ่งได้แก่ แพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพศาสตร์ เป็นชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร ที่มีตึกเก่าๆ ทรงโคโลเนียล เหมาะสำหรับถ่ายภาพชิคๆ ใครที่เบื่อที่เดียวเดินอย่างในห้างสรรพสินค้า อยากเปลี่ยนบรรยากาศมาชิมของอร่อยๆ ที่นี้ก็มีให้กินมากมายเลยทีเดียว วึ่งในอดีตย่านนี้ถือว่ามีความก้าวหน้าทั้งในด้านการค้าและศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นย่านที่เจ้านายและเชื้อพระวงศ์ทรงให้ความสำคัญอีกด้วย
 

การเดินทาง 
 ถ้ามาจากสี่แยกคอกวัว แล้วตรงมาที่ถนนตะนาว (ฝั่งเสาชิงช้า) จะเห็นศาลเจ้าพ่อเสืออยู่ทางขวามือ ถัดไปจะเป็นแพร่งสรรพสาตร (สังเกตจากซุ้มประตูเก่า) จากนั้นจะเจอแพร่งนรา และแพร่งภูธรติดกัน 

 





ชุมชนหัวตะเข้ - ลาดกระบัง
 (เดินเยี่ยมชมชุมชนคลาสสิคริมน้ำ)










 ชุมชนหัวตะเข้เดิมเป็นตลาดเก่าแก่นับ 100 ปีในเขตลาดกระบัง ที่เมื่อครั้งอดีตเป็นตลาดน้ำที่มีชาวบ้านใช้เรือสัญจร ขายของกันอยากคึกคัก แต่ ณ ปัจจุบัน สภาพตลาดก็ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ยังคงกลิ่นอายของความโบราณ ได้สัมผัส
วิถีการใช้ชีวิตของคนที่นี่แบบเรียบง่ายในบ้านไม้โย้เย้ หลังคาสังกะสีผุเก่า แต่มีเสน่ห์จริงๆนะ แถมยังมี street art ที่ใช้พื้นที่กำแพงระหว่างโรงเรียนมาเรียลัยกับชุมชนหัวตะเข้เป็นพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงาน น่าแวะมาถ่ายรูปฮิปๆแนวๆ สุดๆ 

 

การเดินทาง

- Airport rail link ลงสถานีลาดกระบัง นั่งรถสองแถวหรือ taxi มาก็ได้
 - รถไฟมาลงสถานีหัวตะเข้
 - รถตู้จากอนุสาวรีย์มาลงที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 - รถสาย 1310 จากตรงข้ามบิ๊กซีอ่อนนุช มาลงแถวซอยลาดกระบัง 17 หรือตลาดสดอุดมผล
 - รถตู้ ซีคอนศรีนครินทร์ - พระจอมลาดกระบัง
 รถส่วนตัวสามารถจอดได้ที่ตลาดสดอุดมผลแล้วเดินข้ามคลองมาจ้า

 



ย่านตลาดน้อย 
 (งานสตรีทอาร์ต เดินดูบ้านเมือง ชุมชนเก่า)







 

“ตลาดน้อย” ย่านเก่าแก่ในเขตกรุงเทพฯ  1 ใน 2 ประตูสู่ไชน่าทาวน์ของเมืองไทย ตลาดน้อย เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางการค้าของสำเพ็งในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่เดิมในย่านนี้มีชุมชนชาวจีนตั้งบ้านเรือนริมแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้ว เมื่อการค้าขายคึกคัก จึงเกิดเป็นตลาดที่ชาวจีนเรียกกันว่า “ตะลัคเกียะ” หรือ “ตลาดน้อย”นั่นเอง ภายในย่านตลาดน้อยจะมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย รวมทั้งอาหารอร่อยๆมากมายที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น น่าไปเดินเล่น ถ่ายรูปชิคๆ มากเลย

การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 36, 45, 93
 รถไฟ : สถานีรถไฟหัวลำโพง
 รถไฟฟ้าใต้ดิน : สถานีหัวลำโพง
 เรือ : ท่าเรือกรมเจ้าท่า





 

ทรงวาด - กรุงเทพฯ
(ปั่นจักรยานชมตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรมดั้งเดิม ชิมของอร่อย)





ทรงวาด เป็นอีกหนึ่งชุมชนเก่า ซึ่งแต่เดิมเป็นถนนที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าให้ตัดขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในย่านสำเพ็ง ในอดีตถนนทรงวาดมีความสำคัญด้านการค้าในกรุงเทพ ถือเป็นย่านที่มั่งคั่งที่สุดก็ว่าได้ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันทรงวาดได้เหลือเพียงอดีตให้นึกถึง ตึกรามบ้านช่องบางแห่งยังคงสถาปัตยกรรมเดิม และนอกจากนี้ยังมีร้านเก่าแก่ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นมากมายให้เราได้ชิมความอร่อยอีกด้วย

การเดินทาง
 ทางเรือ ลงที่ท่าน้ำราชวงศ์
 รถไฟฟ้า BTS สนามกีฬา ต่อสาย 204 สุดสาย
 รถไฟฟ้า MRT หัวลำโพง ต่อสาย 40 หรือเดินจาก

 

เรียบเรียงโดย : ชิไปไหน



    

    

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai
close