bar_chart
0
favorite
0
shopping_cart
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

คำนวณเงินบํานาญ ประกันสังคมมาตรา 39 ยังไง?

calendar_month 18 พ.ค. 2021 / stylus Admin Chillpainai / visibility 92,753 / ข่าวท่องเที่ยว

251c4cf2d7bf96be36eca2143784ffbf53b866bb.jpg

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ คนที่ออกจากงานเดิมมาทำธุรกิจส่วนตัว แต่ยังสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต่อ


เงินชราภาพประกันสังคมมาตรา 39 อาชีพอิสระ จะใช้หลักการคำนวณเดียวกันกับมาตรา 33 เพียงแต่ว่ารายได้เฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ที่ 4,800 บาท


เงินบำนาญ จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต

1.เงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป

2.มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

3.ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือออกจากงาน

4.ฐานเงินเดือนสูงสุด 4,800 บาท


สูตรคำนวณ

  • จ่ายครบ 180 เดือน - ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเงินสมทบ x 20%

  • ถ้าจ่ายเกิน 180 เดือน - บวกเพิ่มให้อีกปีละ 1.5%




131c2bd35d4193e8d447e4754a0f69400956188f.jpg


ดังนั้นถ้าลาออกงานประจำแล้วส่งมาตรา 39 ต่อจะทำให้ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนลดลงไปเรื่อยๆ ใครจะเปลี่ยนจากผู้ประกันตนมาตรา 33 มาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็ต้องลองชั่งใจดูว่าจะยอมได้รับเงินบำนาญที่น้อยลง เพื่อแลกกับสิทธิรักษาพยาบาลต่อหรือไม่

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai
close