bar_chart
0
favorite
0
shopping_cart
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

แก่งกระจาน โชว์ภาพ จระเข้น้ำจืด สายพันธุ์ไทย ใกล้สูญพันธุ์

calendar_month 23 ม.ค. 2021 / stylus Admin Chillpainai / visibility 4,591 / ข่าวท่องเที่ยว


อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เผยภาพจระเข้พันธ์ุไทยแท้ ที่หายากและใกล้สูญพันธ์ุ บริเวณต้นแม่น้ำเพชรบุรี สะท้อนความสมบูรณ์ของผืนป่า0251454c16dede0b0c0ae96863ca8cceb4c4ce8f.jpg


วันที่ 23 ม.ค.64 เพจ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน - Kaeng Krachan National Parkโพสต์ภาพ “จระเข้น้ำจืด”หรือ “จระเข้สายพันธุ์ไทย” (Crocodylus siamensis) สัตว์ป่าที่หายากมากในธรรมชาติและกำลังจะสูญพันธ์ุไปจากธรรมชาติ คือ จระเข้สายพันธ์ไทยดั้งเดิม ในต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เหนือบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ยืนยันสถานะภาพ ยังคงอยู่ได้ ไม่ได้พบภาพใหม่มานานและยืนยันได้มากกว่าหนึ่งตัว ที่บันทึกภาพได้ จากที่เฝ้าติดตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

การสำรวจครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย เพื่อไปตรวจสอบกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ที่ติดตั้งไว้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 (ประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา) เมื่อไปถึงจุดที่ตั้งกล้องดังกล่าว ทีมสำรวจพบร่องรอยจระเข้ขึ้นที่หาดทรายที่อยู่ติดโค้งน้ำ หน้ากล้องดักถ่ายที่ติดตั้งไว้ โดยภาพถ่ายที่ได้จากกล้องดักถ่ายฯ ยืนยันว่าเป็นจระเข้ขนาดโตเต็มวัย และจากการตรวจสอบพื้นที่รอบหาด ทีมสำรวจยังได้พบขี้จระเข้ขนาดใหญ่ 2 กอง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ 53.4 มม. ซึ่งยืนยันว่าจระเข้ที่พบเป็นจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ (ซึ่งความยาวจากปลายจมูกถึงปลายหางสำหรับจระเข้น้ำจืดที่โตเต็มที่อาจจะยาวได้ถึง 3 เมตร) ต่างจากที่เคยมีรายงานไว้เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ที่วัดความยาวจากปลายปากถึงปลายหางได้ 239 เซนติเมตร อย่างไรก็ดีขนาดที่แท้จริงของจระเข้ที่เพิ่งได้ภาพมานี้ อาจจะยังไม่สามารถยืนยันได้ในเวลานี้ เพราะต้องรอการคำนวณที่ละเอียดจากภาพถ่าย และทีมสำรวจยังต้องรวมอัตราการเติบโตของจระเข้ชนิดนี้เข้ามาคำนวณเพื่อยืนยันว่าเป็นจระเข้คนละตัวกับที่บันทึกไว้เมื่อ 6 ปีที่แล้ว




สำหรับจระเข้น้ำจืด, จระเข้บึง, จระเข้สยาม หรือ จระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทย(Crocodylus siamensis) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม กาลีมันตัน ชวา และสุมาตรา จัดเป็นจระเข้ขนาดปานกลางค่อนมาทางใหญ่ (3–4 เมตร) มีเกล็ดท้ายทอด มีช่วงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–12 ปี จระเข้ชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 20–48 ฟอง โดยมีระยะเวลาฟักไข่นาน 68-85 วัน เริ่มวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยขุดหลุมในหาดทรายริมแม่น้ำ ใช้เวลาเฉลี่ยราว 80 วัน ชอบอยู่และหากินเดี่ยว

โดยปกติจระเข้น้ำจืดจะกินปลาและสัตว์อื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จะไม่ทำร้ายมนุษย์หากไม่ถูกรบกวนหรือมีอาหารเพียงพอ ในอดีตในประเทศไทยเคยพบชุกชุมในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จระเข้ชุม เคยมีรายงานว่าพบจระเข้ถึง 200 ตัว หรือในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ เช่น ไกรทอง ของจังหวัดพิจิตร เป็นต้น แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปจนหมดแล้ว แต่ในต่างประเทศยังคงพบอยู่เช่นที่ทะเลสาบเขมร ประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะทิวเขาพนมกระวาน ซึ่งช่วงแรกค้นพบเพียง 3 ตัว จนนำไปสู่การค้นพบจระเข้นับร้อยตัวที่อาศัยโดยไม่พึ่งพาอาศัยมนุษย์ แต่ที่นี่ก็ประสบปัญหาการจับจระเข้ไปขายฟาร์มจำนวนมาก[2] สถานะในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)

ปัจจุบัน จระเข้สายพันธุ์นี้แท้ ๆ ก็ยังหายากในสถานที่เลี้ยง เนื่องจากถูกผสมสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นจนเสียสายพันธุ์แท้ไปด้วยจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ


ขอบคุณข้อมูลจาก : อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน - Kaeng Krachan National Park

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai