bar_chart
0
favorite
0
shopping_cart
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

ถูกไล่ออกเพราะโควิด-19 ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย

calendar_month 25 ธ.ค. 2020 / stylus Admin Chillpainai / visibility 7,472 / ข่าวท่องเที่ยว

8a1ca29fcc821cca3f9cd39e15e14cac6411f97f.jpg


ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจจะมีหลายๆ คนที่อาจจะถูกบอกเลิกจ้างงาน กรณีพนักงานถูกเลิกจ้าง หรือให้ออกจากงาน โดยไม่ได้มาจากความผิดของพนักงาน หรือลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยเพื่อให้มีเงินใช้ในระหว่างที่ว่างงานลง หรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่อย่างไร


ซึ่งเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชยให้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

1.เงินค่าตกใจ ในกรณีของการที่เราถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้าหรือบอกล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน


2.เงินค่าชดเชยการถูกเลิกจ้าง ในกรณีถูกให้ออกจากงานโดยที่ไม่มีความผิดและไม่สมัครใจจะออก ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุของการทำงาน ยิ่งอยู่กับบริษัทมานานก็จะยิ่งได้ค่าชดเชยมาก โดยนายจ้างต้องเป็นคนจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง

ทำงานมา 120 วัน - 1ปี ได้รับค่าชดเชย 30 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 1 เดือน

ทำงานมา 1-3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 3 เดือน

ทำงานมา 3-6 ปี ได้รับค่าชดเชย 180 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 6 เดือน

ทำงานมา 6-10 ปี ได้รับค่าชดเชย 240 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 8 เดือน

ทำงานมา 10- 20 ปี ได้รับค่าชดเชย 300 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 10 เดือน

ทำงานมา 20 ปี ขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน



สำหรับข้อยกเว้นสำหรับนายจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

  • ลาออกเองโดยสมัครใจ
  • ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนระเบียบการทำงานโดยนายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ทุจริตต่อนายจ้าง
  • ประมาททำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน
  • สัญญาจ้างงานกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน


ทั้งนี้ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชยจากการเลิกจ้าง เมื่อทำงานครบ 120 วันขึ้นไป และถูกให้ออกจากงานทั้งที่ไม่สมัครใจ ไม่ว่านายจ้างจะแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ก็ตาม

เขียนโดย
Admin Chillpainai
Admin Chillpainai
close