bar_chart
0
favorite
0
shopping_cart
0
ยังไม่มีสินค้าในตะกร้า.

กินในญี่ปุ่นยังไงไม่ให้ชาวไทยเสียชื่อ

calendar_month 07 พ.ย. 2018 / stylus นางสาวฮานะ ชิลไปไหน / visibility 7,385 / เที่ยวต่างประเทศ

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

คุณอาจเคยได้ยินมาว่า สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว การสูดเส้นราเมงเงียบ ๆ เป็นเรื่องไม่ควรทำ ในขณะที่การกินอาหารเสียงดังถือเป็นเรื่องไม่สุภาพในสังคมไทย นั่นเป็นเพราะแต่ละประเทศมีธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมแตกต่างกันไป การเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางถือเป็นการให้เกียรติเจ้าบ้าน และยังเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของตัวเรา รวมถึงประเทศของเราอีกด้วย แน่นอนว่าชาวญี่ปุ่นย่อมเข้าใจว่าเราเป็นนักท่องเที่ยวและไม่มาดุด่าว่ากล่าวเราให้เสียหน้า แต่แน่นอนว่าการใส่ใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็เพิ่มความประทับใจให้เจ้าบ้านได้และทำให้เราเป็นนักท่องเที่ยวที่น่ารักมากเลยทีเดียว เรามาดูกันดีกว่าว่าในเรื่องการกินอาหารในญี่ปุ่นนั้น คนญี่ปุ่นมีการปฏิบัติตัวบนโต๊ะอาหารอย่างไร และในฐานะนักท่องเที่ยวคนหนึ่ง มีอะไรบ้างที่เราควรและไม่ควรทำ

มารยาทก่อนและหลังมื้ออาหาร

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

ก่อนที่คนญี่ปุ่นจะกินข้าว จะพูดว่า “อิตะดะคิมัส” (いただきます。) ซึ่งหมายความว่า จะทานอาหารแล้วนะครับ/นะคะ และหลังจากที่กินข้าวเสร็จก็จะพูดว่า “โกะชิโซซะมะเดชิตะ” (ごちそうさまでした。) แปลคร่าว ๆ ได้ว่า ขอบคุณสำหรับมื้ออาหารที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ทำอาหารให้เรากินนั่นเอง

ถ้าคุณมีโอกาสกินข้าวร่วมกับคนญี่ปุ่นและอยากจะเอาใจเค้าก็สามารถพูดประโยคทั้งสองประโยคนี้ได้


มารยาทในการใช้ตะเกียบ


บางคนอาจจะพอทราบข้อควรระวังในการใช้ตะเกียบอยู่แล้ว และอาจมีบางครั้งที่คุณรู้สึกว่าข้อปฏิบัติบางอย่างทำให้การกินยุ่งยากเกินจำเป็น แต่ถ้าคุณได้รู้ถึงเหตุผลและที่มาที่ไปของข้อห้ามแล้วก็น่าจะทำให้คุณเข้าใจวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบของชาวญี่ปุ่นมากขึ้น และไม่ทำอะไรที่ดูไม่เหมาะสมโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

สิ่งที่เราอาจจะทำความเข้าใจได้ง่ายหน่อยว่าเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพเท่าไรนักก็อย่างเช่น การใช้ตะเกียบชี้ไปที่ผู้อื่น การเลียหรือดูดตะเกียบ การใช้ตะเกียบลากจานอาหารมาใกล้ตัว การนำตะเกียบไปวนเหนือจานอาหารเพราะลังเลว่าจะเลือกคีบอะไรดี หรือการคีบอาหารขึ้นมาแล้วเปลี่ยนใจวางกลับไปที่เดิม

ส่วนข้อปฏิบัติอื่น ๆ ก็มีเหตุผลของมันอยู่ การปักตะเกียบลงบนข้าวถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เนื่องจากตามวัฒนธรรมญี่ปุ่น ถ้วยข้าวที่มีตะเกียบปักอยู่ด้านบนนั้นถือเป็นสิ่งที่เอาไว้เซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ และถ้าหากคุณนำถ้วยข้าวที่มีตะเกียบปักอยู่ยื่นให้แก่ผู้อื่นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะนั่นถือเป็นการสาปแช่ง และคุณไม่ควรจะใช้ตะเกียบไปปักลงไปในอาหารไม่ว่าคุณจะใช้ตะเกียบไม่คล่องแค่ไหนก็ตาม เพราะนั่นจะทำให้อาหารในจานดูสกปรกเลอะเทอะ และเหมือนเป็นการตรวจดูว่าอาหารข้างในนั้นสุกหรือไม่ ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติเชฟที่ทำอาหารให้คุณ

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

และถ้าหากคุณต้องการจะแบ่งอาหารในจานของคุณให้กับคนอื่น คุณไม่ควรใช้ตะเกียบในการส่งหรือแม้แต่รับอาหาร เนื่องจากนั่นคือวิธีส่งอัฐิของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วให้แก่กันหลังจากเสร็จพิธีเผาศพ คุณควรที่จะยื่นจานของคุณไปให้แก่ผู้ที่คุณต้องการแบ่งอาหารให้แทนการคีบไปใส่จานของอีกฝ่าย

คุณอาจสังเกตเห็นว่า ในร้านอาหารญี่ปุ่นหลายแห่งมักจะมีที่วางตะเกียบอยู่บนโต๊ะอาหารเสมอ เมื่อคุณใช้ตะเกียบเสร็จแล้ว ไม่ควรวางตะเกียบไว้บนชามข้าว หรือพาดไว้ที่ขอบจาน แต่หากว่าไม่มีที่วางตะเกียบ คุณอาจจะพับซองใส่ตะเกียบมาเป็นที่วางตะเกียบเองก็ได้ สิ่งนี้ถือเป็นมารยาทที่คนญี่ปุ่นปฏิบัติกัน

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

และถ้าหากคุณใช้ตะเกียบไม่คล่อง ไม่ต้องลังเลที่จะยกจานหรือชามขึ้นมาใกล้ปากเพื่อจะได้กินได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น ในเวลาที่คุณกินราเมง หรือข้าวหน้าเนื้อสัตว์ต่าง ๆ การกระทำนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดมารยาทเพราะถือเป็นการกินไม่ให้ข้าวหกเลอะเทอะและไม่เป็นการเสียของ นอกจากนั้น อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ล้วนถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้ถือได้อย่างสะดวกสบายอยู่แล้ว

การกินซูชิ

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

สำหรับการกินซูชิแล้ว การใช้มือหยิบซูชิเข้าปากไม่ถือเป็นเรื่องผิดมารยาท ยิ่งไปกว่านั้น ชาวญี่ปุ่นบางส่วนที่เคร่งวัฒนธรรมยังเลือกที่จะใช้มือในการกินซูชิอยู่ อันที่จริงคุณสามารถใช้ตะเกียบหรือมือก็ได้ เพียงแต่คุณควรจะกินเข้าไปให้หมดภายในคำเดียว แต่ถ้าซูชิคำใหญ่มากจริง ๆ คุณสามารถกัดกินทีละครึ่งก็ยังถือว่ารับได้ แต่สิ่งที่ควรระวังก็คือ คุณไม่ควรใส่วาซาบิลงไปในซอสโชยุ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทย แต่คนญี่ปุ่นถือว่าซอสและวาซาบิที่เข้มข้นเกินไปจะไปทำลายรสชาติของเนื้อปลาบนซูชิ และถือเป็นการไม่ให้เกียรติเชฟไปโดยปริยาย หากคุณต้องการจะกินวาซาบิก็ให้วางวาซาบิไว้บนปลา และเวลาจิ้มซอสโชยุ สำหรับซูชิหน้าปลาดิบ คุณไม่ควรเอาส่วนข้าวจิ้มลงไป แต่ควรคีบซูชิแบบเอียงคือให้ข้าวอยู่ที่ด้านหนึ่งของตะเกียบและปลาอยู่อีกข้างหนึ่ง และเอียงให้ด้านที่เป็นปลาจิ้มซอสโชยุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียรสชาติของเนื้อปลา แต่ถ้าหากเป็นซูชิโรล คุณสามารถใช้มือจับด้านสาหร่าย และจิ้มข้าวฝั่งหนึ่งลงไปในซอสโชยุได้เลย ถ้าหากทางร้านเสิร์ฟขิงดองมาให้ด้วย คุณไม่ควรคีบขิงดองและซูชิใส่ปากพร้อมกัน แต่ควรกินขิงดองเปล่า ๆ โดยไม่จิ้มซอสโชยุ แต่ก็จะมีซูชิบางชิ้นที่เชฟทาซอสแบบเฉพาะมาให้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องจิ้มซอสโชยุอีกเพื่อให้เกียรติเชฟและลิ้มลองรสชาติเฉพาะตัวของเมนูนั้นอีกเช่นกัน แต่ถ้าคุณไปกินซูชิตามร้านเล็ก ๆ หรือรถเข็นข้างทาง คุณก็ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดขนาดนี้ก็ได้

การกินราเมง

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

การกินถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่น และราเมงก็ถือเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ วิธีกินราเมงให้ถูกใจคนญี่ปุ่นที่สุดก็คือการสูดเส้นราเมงให้มีเสียง ข้อดีของการสูดเส้นราเมงในความคิดของคนญี่ปุ่นคือคุณจะได้กินเส้นและน้ำซุปพร้อมกันในสัดส่วนที่กำลังพอดี และถือเป็นการทำให้ความร้อนในตัวเส้นราเมงน้อยลงเพราะมีอากาศลอดผ่าน หน้าที่ของตะเกียบก็คือการประคองเส้นราเมงจากชามเข้าปาก นอกจากนั้น การสูดเส้นราเมงแสดงให้เห็นว่าคุณชอบในรสชาติและกำลังเพลิดเพลินกับราเมงตรงหน้า ถือเป็นการชื่นชมฝีมือของเชฟอีกด้วย หากในราเมงมีเห็ด คุณสามารถกินเห็ดกับเส้นราเมงพร้อมกันได้ในคำเดียว ส่วนไข่ต้มในราเมงถือว่าเป็นเครื่องเคียง จึงควรคีบไข่ต้มขึ้นมากัดต่างหาก ไม่ควรกินพร้อมกับเส้น อีกอย่างก็คือ ห้ามอ้อยอิ่ง คุณควรจะรีบกินราเมงในขณะที่มันยังร้อนอยู่เพื่อรับรสชาติของมันในขณะที่มันอร่อยที่สุด เวลากินทั้งหมดก็คือไม่ควรเกิน 30 นาที ทางที่ดีนั้น คุณควรจะกินทุกอย่างในชามให้หมดเกลี้ยงแม้กระทั่งน้ำซุป ทั้งหมดนี้ถือเป็นการให้เกียรติเชฟที่ตั้งใจทำราเมงให้กับคุณ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

เที่ยวญี่ปุ่น Klook

เมื่อคุณไปถึงญี่ปุ่นแล้ว คุณจะสังเกตเห็นว่าจะการส่งและรับเงินด้วยมือนั้นมีน้อยมาก ถ้าไม่นับรวมรถเข็นขายอาหารหรือร้านขายของเล็ก ๆ ตามถนน ไม่ว่าจะเป็นในโรงแรม โรงอาบน้ำ ร้านอาหาร คาเฟ่ แท็กซี่ หรือแม้แต่ร้านสตาร์บัคส์ในญี่ปุ่นเอง จะมีถาดเล็ก ๆ เอาไว้ให้คุณวางเงินเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ และพนักงานก็จะวางเงินทอนของคุณไว้ในถาดนั้นเช่นกัน ถ้าหากทางร้านมีถาดวางไว้ให้ที่เคาน์เตอร์ชำระเงิน แต่คุณยังคงยื่นเงินให้กับพนักงานด้วยมือ จะถือว่าเป็นการเสียมารยาท นอกจากนั้น อย่าลืมพกเงินสดติดตัวไว้ในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากร้านค้าในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่รับบัตรเครดิต นอกจากร้านค้าหรือโรงแรมขนาดใหญ่เท่านั้น

การให้ทิป

เที่ยวญี่ปุ่น Klook


วัฒนธรรมการให้ทิปจะเป็นของซีกโลกตะวันตกอย่างเช่นอเมริกา ส่วนในญี่ปุ่นก็คงคล้ายกับประเทศไทยตรงที่ว่าการให้ทิปนั้นไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นนัก โดยปกติแล้ว ร้านอาหารในญี่ปุ่นจะมีการคิดค่าบริการรวมไปกับค่าอาหารอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการทิปจึงไม่จำเป็น เผลอ ๆ ถ้าคุณวางเงินเกินไว้บนโต๊ะ มีแนวโน้มที่พนักงานในร้านจะวิ่งตามคุณเพื่อเอาเงินมาคืน แต่ถ้าหากคุณไปพักที่บ้านของโฮสชาวญี่ปุ่น และต้องการจะให้สินน้ำใจแก่เค้าจริง ๆ ก็ควรจะเอาเงินใส่ซองจดหมายแล้ววางไว้บนที่นอน หรือถ้าคุณอยากจะตอบแทนบริการอันยอดเยี่ยมของไกด์นำเที่ยวหรือล่าม คุณก็สามารถให้ทิปได้ด้วยการนำเงินใส่ซองจดหมายแล้วยื่นให้ไกด์ด้วยสองมือถ้าสามารถโค้งคำนับและพูดคำว่าขอบคุณด้วยได้ก็จะถือว่าถูกต้องครบถ้วน ถ้าหากคุณหาซองจดหมายไม่ได้ ก็สามารถใช้กระดาษลายสวยงามหรือกระดาษเปล่าห่อเงินแทนการใช้ซองจดหมายก็ได้


ถ้าหากคุณอยากไปเที่ยวญี่ปุ่น แต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มวางแผนการเดินทางอย่างไร คุณสามารถเข้ามาดูรายละเอียดของแพ็กเกจทัวร์ภูเขาไฟฟูจิ, Pocket WiFi สำหรับใช้ในญี่ปุ่น และบัตรโดยสารรถไฟใต้ดินโตเกียวเพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางได้ และยังมีข้อเสนอดี ๆ อีกมากมายในเว็บไซต์ของ Klook

fc02b2abe9d33ca6df83166359a25fefa5bb02cc.jpg

ก่อนปีใหม่นี้ ให้รางวัลตัวเองหรือคนที่คุณรักเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ กับ Klook ด้วยโค้ดส่วนลดสุดพิเศษ
ส่วนลด 250 บาท เมื่อจองครบ 4,000 บาท
โค้ดส่วนลด: KLOOKGIFT

ลด 500 บาท เมื่อจองครบ 5,500 บาท โค้ดส่วนลด: “KLOOKGIFTAPP” เมื่อจองผ่านแอปพลิเคชัน


ไปจองกันเลย!


เขียนโดย
นางสาวฮานะ ชิลไปไหน
นางสาวฮานะ ชิลไปไหน